อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
  • ปรับขนาด
    ตัวอักษร
 
สถานที่ท่องเที่ยว: ไหว้พระสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์
วัดดีหลวง

วัดดีหลวง                   

วัดดีหลวง ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา  ปรากฏหลักฐานในแผนที่กัลปนาวัดเมืองพัทลุง เรียกชื่อวัดนี้ว่า “วัดกะดีหลวง” วัดดีหลวง เป็นวัดที่หลวงปู่ทวดเคยบวชเป็นสามเณร  ถือได้ว่าเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งในคาบสมุทรสทิงพระ   เป็นวัดสำคัญอีกวัดหนึ่งในคาบสมุทรสทิงพระ ที่มีความเกี่ยวข้องกับหลวงปู่ทวด และเป็นวัดที่มีความเจริญรุ่งเรืองด้านสถาปัตยกรรม เป็นสำนักเรียนใหญ่มาแต่โบราณ ปรากฏหลักฐานเล่าสืบต่อกันมาว่า วัดดีหลวง เป็นวัดที่เด็กชายปูเคยมาอาศัยกับสมภารจวง ซึ่งเป็นหลวงลุง  เมื่ออายุได้ 14 ปี   ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร  และศึกษาวิชาต่างๆ ในวัดจนหมดสิ้น และได้ไปเรียนต่อที่วัดสีหยัง     และได้ศึกษาต่อไปจนถึงกรุงศรีอยุธยาตามลำดับ  ภายในวัดมีโบราณสถานที่สำคัญได้แก่ 

  • อุโบสถบรรพชาสามเณรปู  พระประธานอุโบสถหลังนี้เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ลงรักปิดทอง ประดิษฐานอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเทพชุมนุม ด้านหน้าของซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปางเปิดโลกภายไต้เศวตฉัตร  การสร้างพระพุทธรูปทีมีซุ้มเรือนแก้วครอบลักษณะนี้นั้น สันนิษฐานได้เลยว่า อุดบสถเดิมหลังนี้คงป็นอุโบสถโล่งไม่มีผนัง แต่ภายหลังได้มีการต่อเติมให้มีผนังเกิดขึ้น ราวยุคสมัยของ “อาจารย์แก้ว พุทธฺมุณี” อดีตเจ้าอาวาส และชาวบ้านยังเรียกขานนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า เป็น พระพุทธรูปนักเลง ประจำอุโบสถวัดดีหลวง คือ เป็น พระพุทธรูปหิ้วนก !!!

                  

ส่วนด้านหน้าของอุโบสถเป็นสถูปอาจารย์จวง ซึ่งเป็นหลวงลุงของหลวงปู่ทวด สถานที่แห่งนี้หากได้มากราบไหว้สักการบูชาจะช่วยเสริมสร้างบุญบารมี และเป็นมงคลต่อชีวิตในด้าน “มีความเฉลียวฉลาด รอบรู้ และประสบความสำเร็จทางการศึกษา”

 

  • ศาลาอาจารย์แก้ว  พุทธฺมุณี  เป็นศาลาโถงไม้ทรงไทย สร้างผสมผสานระหว่างไม้กับปูน มีความวิจิตรงดงามอย่างลงตัว โดยศาลาหลังนี้คณะศิษย์ยานุศิษย์ร่วมกันสร้างถวาย เป็นพุทธบูชาเพื่อประดิษฐานสรีระสังขารของอาจารย์แก้ว พุทธฺมุณี  อดีตเจ้าอาวาสวัดดีหลวง

 

สร้างเมื่อ พ.ศ.2485 ลักษณะเด่น คือ หน้าบันด้านหน้ามีมุขลดหลั่น หน้าบันมีลวดลายปูนปั้นรูปพระภิกษุนมัสการโกศใส่ศพ หน้าบันมุมด้านข้างเป็นลายปูนปั้นรูปฤๅษีและพระพิฆเนศ  ส่วนด้านข้างทั้งสี่ด้าน สร้างเป็นเรือนยกพื้น ใช้เป็นเรือนสำหรับพระสวดอภิธรรม ภายหลังด้านทิศตะวันตกได้ปรับเปลี่ยนเป็นอาสงฆ์เพื่อสะดวกในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา  

 
ที่เที่ยวใกล้เคียง :
แสดงความคิดเห็น